"งบแสดงฐานะการเงิน" statement of financial position ( สเตทเมนท์ ออฟ ไฟแนนซ์เชียล โพซิชั่น )
จากบทความที่แล้ว เราได้อธิบาย ถึง งบการเงิน หรือ Financial Statement (ไฟแนนซ์เชียล สเตทเมนท์) ความหมายของ งบการเงิน ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย,ประโยชน์ของงบการเงิน รวมไปถึง ผู้ใช้งบการเงิน ส่วนบทความนี้ เราจะอธิบายถึง งบการเงิน แยกแต่ละตัว
งบแสดงฐานะการเงิน เป็นงบการเงินแสดงฐานะของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (วันสิ้นงวดบัญชี) โดยจัดทำขึ้นทุกๆ รอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี งบแสดงฐานะการเงิน แสดงความสัมพันธ์ของทรัพย์สิน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ สมการบัญชี Accounting Equation ( แอคเคาน์ติ้ง อิคเว-ฌัน ) สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
ปัจจุบัน กรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดให้บริษัทจัดทะเบียนใช้ "งบแสดงฐานะการเงิน” แทนการใช้งบดุล รวมถึงหน่วยงานราชการด้วย
โครงสร้างของงบแสดงฐานะการเงินโดยทั่วไปจะแยกแสดงรายการต่างๆ ดังนี้
- สินทรัพย์ จะแสดงรายการเรียงลำดับจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดไปยังสภาพคล่องต่ำสุด
- หนี้สิน จะแสดงรายการเรียงลำดับจากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระคืนก่อนไปยังหนี้สินระยะยาว
- ส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดงรายการเรียงลำดับจากทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และ กำไรสะสม
นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ
บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo