9 ภาษี หัก ณ ที่จ่ายที่พบบ่อย เขามีวิธี หัก อย่างไร ?
จากบทความก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาบ้าง พอสมควร ซึ่งบทความก่อนหน้า เราได้อธิบายว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ใครมีหน้าที่หัก ใครมีหน้าที่ถูกหัก และ เงินได้แต่ละประเภท ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในจำนวน อัตรา กี่ % ส่วนบทความนี้ เราจะมาพูดถึง รายการอะไรบ้างที่เราต้องหัก และนำส่ง ? เมื่อจ่ายให้บุคคลธรรมดา และ เมื่อจ่ายให้นิติบุคคล แตกต่างกันอย่างไร
1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)
อันนี้ชัดเจนครับ ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงาน หรือคนที่จ้างทำงานให้ อันนี้ให้หัก ณ ที่จ่ายไว้ด้วยนะครับ
ต้องหัก เท่าไหร่: ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณครับ วิธีการคำนวนแนะนำให้ถามนักบัญชี หรือฝ่ายบุคคลดูนะครับ หรือถ้ามีเวลาจะเขียนการคำนวณในอีกบทความต่อไป
2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)
ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา ที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่นเป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง
ต้องหัก เท่าไหร่: เหมือนข้อ 1 เลยครับ
3. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8 )
ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆให้สำเร็จ
ต้องหัก เท่าไหร่: 3%
4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6 )
คุณอาจจะต้องจ้างผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ หรืออาจจะมีจ้าง
ต้องหัก เท่าไหร่: 3%
5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา คุณต้องไม่ลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยนะครับ
ต้องหัก เท่าไหร่: 5%
6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)
อันนี้เป็นกรณี่เกิดขึ้นบ่อยสุดแล้วครับ คือหัก ณ ที่จ่ายสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3% ใช้กันจนจะลืมว่ามีอัตราอื่นๆกันแล้ว
7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล อันนี้ก็เหมือนๆกับเช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ
ต้องหัก เท่าไหร่: 5%
8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8 )
ถ้าคุณจ้างบริษัทโฆษณาต่างๆให้โฆษณาให้ คุณต้องหัก ณ ที่จ่ายดัวยนะครับ แต่อัตราอาจจะแปลกๆกว่าอันอื่นๆหน่อย
ต้องหัก เท่าไหร่: 2%
9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8 )
ถ้าคุณจ้างบริษัทขนส่งไม่สาธารณะ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง หัก ณ ที่จ่ายแค่ร้อยละ 1 นะครับ อย่าหัก 3% เด๋วของคุณจะไปไม่ถึงปลายทาง
ต้องหัก เท่าไหร่: 1%
นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ
บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo