การตั้ง Supplier Invoice ในระบบ OpenERP
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

การตั้ง Supplier Invoice ในระบบ OpenERP เป็นการตั้งใบเเจ้งหนี้ที่ไดรับมาจากเจ้าหนี้ โดยการตั้งหนี้ในระบบ ERP สามารทำได้ง่าย ๆ และมีวิธีการสังเกตดังนี้

 

การตั้ง Supplier Invoice ในระบบ ERP

 

ทำการสร้างใบ Supplier Invoice ที่เมนู Accounting
ทำการสร้างใบ Supplier Invoice
 

1. ในการสร้าง Supplier Invoice ให้ไปที่เมนู  Accounting ตรงเมนูย่อย Supplier Invoice จากนั้นให้ทำการสร้าง Supplier Invoice โดยกดปุ่ม Create

 

 

กรอกรายละเอียดใบเเจ้งหนี้ให้ครบถ้วน
กรอกรายละเอียดใบเเจ้งหนี้

2. ให้ระบุข้อมูลโดยการกรอกรายละเอียดตามใบแจ้งหนี้

 



*** ข้อสังเกต ****


1. ใบแจ้งหนี้จะมี 2 ลักษณะ
1.1 ใบแจ้งหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้า ใบแจ้งหนี้ลักษณะนี้ Invoice Date และ Due Date วันเดียวกัน

ตัวอย่างใบเเจ้งหนี้จากการซื้อสินค้า
ใบแจ้งหนี้จากการซื้อสินค้า
1.2 ใบแจ้งที่เกิดจากการจ่ายเป็นประจำ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า Invoice Date และ Due Date จะคนละวัน
ตัวอย่างใบแจ้งที่เกิดจากการจ่ายเป็นประจำ
ใบแจ้งที่เกิดจากการจ่ายเป็นประจำ

 


2. Header for Report


การระบุ Header for Report จากใบแจ้งหนี้จะมีอยู่ 2 กรณี

2.1 เจ้าหนี้ที่ออกใบแจ้งหนี้ให้กับ “บุคคลธรรมดา” หากการออกใบแจ้งหนี้ให้กับบุคลธรรมดา Header for Report จะเป็น INVOICE(None Vat) เนื่องจากว่าบุคคลธรรมดาไม่ได้อยู่ในระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เลือก Header for Report จะเป็น INVOICE(None Vat) สำหรับใบเเจ้งหนี้บุคคลธรรมดา
Header for Report เป็น INVOICE(None Vat)

 

2.2 เจ้าหนี้ที่ออกใบแจ้งหนี้ให้กับ “นิติบุคคล” หากการออกใบแจ้งหนี้ให้กับนิติบุคคล Header for Report จะเป็น INVOICE/TAX INVOICE เนื่องจากว่านิติบุคคลอยู่ในระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เลือก Header for Report เป็น INVOICE/TAX INVOICE สำหรับออกใบแจ้งหนี้ให้กับนิติบุคคล
Header for Report เป็น INVOICE/TAX INVOICE


3. Branch (สาขา)  การระบุ Branch (สาขา) ให้ดูจากเอกสารที่ได้รับมา ซึ่งมี 2 กรณี

3.1 สาขาสำนักงานใหญ่ หากในใบแจ้งหนี้เป็นสำนักงานใหญ่ไม่ต้องทำอะไร ให้เลือกบริษัทที่ทำการแจ้งหนี้ได้เลย

เลือกบริษัทที่ทำการแจ้งหนี้สำหรับสำนักงานใหญ่
เลือกบริษัทที่ทำการแจ้งหนี้
 

3.2 หากในใบแจ้งหนี้เป็นสาขาย่อย ให้เพิ่มสาขาก่อน
โดยไปที่เจ้าหนี้ที่ต้องการเพิ่มสาขา > Branch > Edit > เพิ่มรายละเอียดสาขา > Save เมื่อทำการบันทึกเรียบร้อยเเล้วสามารถเลือกสาขาได้เลย

ให้ทำการเพิ่มสาขาสำนักงานย่อยก่อนเลือกาขา
ทำการเพิ่มสาขา
เลือกสาขาสำนักงานย่อยที่ได้ทำการเพิ่มไว้
เลือกสาขาที่ได้ทำการเพิ่มไว้ก่อนหน้า

 

 

4. รายละเอียดสินค้า และภาษี
ระบุสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า และเลือกภาษีให้ตรงกับใบแจ้งหนี้ที่ได้รับมา และระบุที่ช่อง Taxes เช่น หากในใบแจ้งหนี้เป็นภาษีซื้อรวมให้เลือกภาษีซื้อรวม หากเป็นภาษีซื้อแยกให้เลือกภาษีซื้อแยก หากไม่มีภาษีไม่ต้องระบุ

ทำการระบุสินและรายละเอียดภาษีต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
ทำการระบุสินและรายละเอียดภาษีต่าง ๆ

 


5. หากทำรายการย้อนหลัง
ไปที่ Other Info > Force Period > เลือกรอบระยะตามใบแจ้งหนี้ เช่น หากใบแจ้งหนี้เป็นของเดือน 5 ให้เลือก 05/2021 , หากใบแจ้งหนี้เป็นของเดือน 4 ให้เลือก 04/2021

ทำการเลือกรอบระยะตามใบแจ้งหนี้ที่ช่อง Force Period
เลือกรอบระยะตามใบแจ้งหนี้

เมื่อระบุข้อมูลตามใบแจ้งหนี้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Validate เพื่อยืนยันการตั้งหนี้



และทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการตั้ง Supplier Invoice ในระบบ ERP หรือการสร้างใบแจ้งหนี้ซึ่งมีทั้งขั้นตอนการสร้าง วิธีการดูใบแจ้งหนี้ ข้อสังเกต การระบุข้อมูลจากใบแจ้งหนี้

อ้างอิง : 


- "Invoice อินวอยซ์ คืออะไร การทำธุรกิจค้าขาย". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/194-e-commerce/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/3521-invoice-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
- "ERP คืออะไร อีอาร์พี คือคำที่ไว้ใช้เรียก ระบบ หรือโปรแกรมที่ช่วยบริการงานในองศ์กร". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2056-erp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
- "การสร้างใบแจ้งหนี้". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/openerp-manual/4200-create-invoices-the-customer-the-system-of-erp-openerp.html