ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า Warehouse Management System

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า Warehouse Management System

ภาพรวมระบบบริหารจัดการคลังสินค้า

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า Warehouse Management System

ในการทำธุรกิจนั้นจำเป็นที่จะต้องมีสินค้าหรือวัตถุดิบมาเก็บสต๊อกไว้สำหรับรอการขายหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลให้จำเป็นจะต้องมีสถานที่เพื่อรองรับการจัดเก็บ เบิกจ่าย โยกย้ายสำหรับสิ่งเหล่านี้และการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารนั้นก็มีความเสี่ยงในหลายๆด้านอาจส่งผลกระทบให้แก่การจัดการคลังสินค้าได้มาก ในส่วนนี้ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าจึงได้ถูกพัฒนาระบบมาเพื่อเป็นโปรแกรมที่มาช่วยในการบริหารจัดการของคลังสินค้า ในระบวนการต่างๆ สำหรับคลังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแทนที่การทำงานในรูปแบบเเอกสารแบบเดิมๆ ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ยกตัวอย่างประโยชน์การใช้งานระบบบริหารจัดการคลังสินค้าคือเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำในการจัดเก็บสินค้า, สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว, สามารถดูจำนวนสินค้าปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง ป้องกันความผิดพลาดเกี่ยวกับการทำงานได้เป็นอย่างมากหมดปัญหาคลังสินค้าแบบเดิมๆ

 

คลังสินค้า (Warehouse)
คลังสินค้า (Warehouse) หรือบางกิจการอาจจะเรียกว่าโกดัง คลังพัสดุ ที่เก็บของ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสถานที่จัดเก็บสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อจาก Supplier และขายออกให้ Customer คลังสินค้าจะเป็นสถานที่ที่จัดเก็บสินค้าหรือพักสินค้าชั่วคราว โดยในระบบ MDERP มีโมดูล Warehouse ที่ดูแลเรื่องการจัดการสินค้าอย่างครบวงจร
warehouse
ระบบหลายคลังสินค้า
Multi-warehouses
ระบบรองรับ Multi-warehouses โดยระบบสามารถสร้างคลังสินค้าได้มากกว่า 1 คลังสินค้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการสต๊อกและจำหน่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการแบ่งเขตการจัดสรรสินค้าให้อยู่ในคลังสินค้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับการจำหน่ายและการบริการลูกค้า เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่จะต้องมีการจัดการสต๊อกสินค้า
Internal Move
กรณีที่จะต้องมีการย้าย Locations หรือสถานที่จัดเก็บสินค้าก็สามารถใช้ Internal Move ในการปรับเปลี่ยนโยกย้ายของสินค้าภายในองค์กรได้ สามารถระบุสินค้าและจำนวนสินค้าที่ต้องการย้ายได้ อีกทั้งยังสามารถแสดงสถานที่ต้นทาง-ปลายทางได้อย่างชัดเจนป้องกันความผิดพลาดของการย้ายสินค้า
เมนูเคลื่อนย้ายภายใน
เมนูปรับเพิ่มหรือลดจำนวน
Physical Inventories
ตรวจสอบและปรับสต๊อกสินค้าในระบบให้ตรงกับจำนวนที่เป็นจริง  สามารถปรับเพิ่มจำนวนหรือลดจำนวนสินค้าได้ทีละหลายรายการ หรือระบุที่ละสินค้าก็สามารถทำได้ง่ายด้วยเมนู Physical Inventories
Units of Measures
สร้าง UOM หรือ Units of Measures ของแต่ละสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้ตามความต้องการในการใช้งานจริง ไม่ว่าเป็นชิ้น ครั้ง แพ๊ค ลัง เมตร ม้วน วัน ชั่วโมง เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้สร้างได้ที่เมนู Units of Measures รองรับหน่วยวัดที่หลากหลายสำหรับทุกธุรกิจ
ระบบรองรับ UOM หลากหลาย
เมนูคิดค่าขนส่งและสร้าง
Delivery Methods
มีเมนู Delivery Methods ที่สามารถสร้างผู้ให้บริการขนส่งได้แบบไม่จำกัด และยังสามารถตั้งค่าการคำนวณคิดค่าขนส่งของสินค้าได้ ไม่ว่าเป็นแบบ Fixed Cost หรือให้คำนวณตามน้ำหนักหรือจำนวนของสินค้าก็สามารถทำได้ภายในไม่กี่คลิก
Reordering Rule
Reordering Rules (รีออเดอริ่ง รูล) การตั้งค่ากำหนดการสั่งซื้อสินค้า เมื่อสินค้ามีจำนวนต่ำสุดตามที่กำหนดเป็นการทำงานเกี่ยวกับการซื้อสินค้าซ้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้านั้นๆ ยังมีสินค้าคงคลังพร้อมสำหรับการขาย การใช้งานจะอยู่ในลักษณะของการกำหนด จำนวนสินค้าขั้นต่ำที่จะต้องสั่งซื้อสินค้า และสินค้าสูงสุดที่จะสามารถมีอยู่ในคลังสินค้าได้ พร้อมกับการสร้างใบสั่งซื้อสินค้าให้อัตโนมัติเมื่อพบว่ามีสินค้าถึงต่ำสุดที่ต้องสั่งซื้อเพิ่ม
ฟิเจอร์กำหนดจุดต่ำสุดสูงสุดสินค้า
ระบบรับเข้า-ส่งออกแบบง่าย
Receive & Deliivery
มีระบบติดตามดูรายการสินค้าที่กำลังจะมีการรับเข้า-ส่งออก สามารถกดรับสินค้าตามจำนวนจำนวนที่สั่งซื้อ หรือตามจำนวนจริงที่คู่ค้าส่งมาให้ สามารถยกเลิกการรับสินค้าครั้งนั้นหากสินค้าเกิดความชำรุดเสียหาย และสามารถส่งออกสินค้าให้กับลูกค้าทั้งหมดหรือทยอยส่งตามจำนวนสินค้าที่เป็นจริงได้อีกด้วย
PACK
Pack สินค้าได้โดยสามารถกำหนดสร้าง Box สินค้า กำหนด ขนาดได้ แบ่งกล่องการแพ๊คสินค้าได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีระบบที่รองรับการกำหนดวันทำการแพ๊คสินค้า และระบุรายละเอียดการปฎิบัติงานได้อย่างชัดเจน และสามารถกำหนดแบ่งการแพ๊คเป็นวันได้ตามการทำงานตามหน้างานจริง 
เมนูจัดการแพ๊คสินค้า
รองรับจัดการคลังแบบ FIFO
การจัดการคลัง
การจัดการคลัง มีรูปแบบ FIFO หรือ First In First Out หรือรูปแบบของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนต้องขายออกก่อน เพื่อลดความเสี่อมสภาพและรักษามูลค่าของสินค้าโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นฟังก์ชั่นที่เข้ามาช่วยจัดการเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าได้ สามารถเรียกดูรายงานสินค้ารูปแบบ FIFO ได้ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุ เช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
COST
กำหนดต้นทุนของแต่ละสินค้าได้ทั้งแบบประเภทของรูปแบบ Standard Price (ราคามาตราฐาน) หรือ เลือกกำหนดรูปแบบ Average Price (ราคาแบบเฉลี่ย) และยังสามารถกำหนดรูปแบบของ FIFO (First In First Out) ได้อีกด้วยสะดวกต่อการจัดการวางแผนคำนวณต้นทุนของสินค้าแต่ละประเภทได้เป็นอย่างดี
  • Standard Price (ราคามาตราฐาน) 
    ในระบบสามารถกำหนดต้นทุน Standard Price (ราคามาตราฐาน) ได้ตามเงื่อนไขของบริษัทกำหนดจริงที่สามารถเรียกดูเพื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงได้เป็นอย่างดี นิยมใช้กับสินค้าได้ทั้งหมดที่ต้องการกำหนดราคาต้นทุนมาตราฐานไว้

  • Average Price (ราคาแบบเฉลี่ย)
    ในระบบสามารถกำหนดต้นทุนของสินค้า วัตถุดิบ ในรูปแบบ Average Price (ราคาแบบเฉลี่ย) สำหรับนำมูลค่าสินค้ามาเฉลี่ยหาราคาต้นทุนใหม่ทุกครั้งที่มีการซื้อเข้ามา เป็นอะไรที่เหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าสูง หรือเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันและราคาใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างสินค้ากางเกง ที่เนื้อผ้าเดียวกัน แต่คนละสี คนละรูปทรง

  • FIFO (First In First Out)
    สามารถคิดต้นทุนแบบ FIFO ที่มักจะนำไปใช้กับสินค้าที่มีอายุและความนิยม ตามสมัย ซึ่งเก็บไว้นานไม่ได้อาจล้าสมัย หรือเสื่อมสภาพ และเน่าเสีย นิยมนำไปใช้กับสินค้าประเภทอาหาร ยา ยกตัวอย่าง คอลลาเจนบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารกระป๋อง 
 
กำหนด cost สินค้า
ระบุหมวดหมู่และประเภทสินค้าได้
Product Categories
สามารถแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมได้ เช่น หมวดหมู่เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดหมู่เครื่องใช้สำนักงาน หมวดหมู่งานบริการ และยังสามารถกำหนดการบันทึกบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละหมวดหมู่สินค้าได้
Product Type
กำหนดประเภทของสินค้าในระบบได้ว่าสินค้าเป็นประเภทไหนบ้าง เช่น สินค้าคงคลัง หรือ บริการ เป็นต้น โดยการกำหนดหมวดหมู่และประเภทของสินค้า จะส่งผลต่อการเรียกดูรายงาน หากจากจัดหมวดหมู่และประเภทของสินค้าได้ดี การเรียกดูรายงานและอ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น
Barcode
กำหนด Barcode ของสินค้าได้ตามต้องการเพื่อใช้ในการระบุและตรวจสอบข้อมูลสินค้า ช่วยให้มีความอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ในระบบรองรับเครื่องสแกนบาร์โค้ด สำหรับการยิงตัวสินค้าเพื่อตรวจสอบรายละเอียดและข้อมูลของสินค้า 
ใช้งานบาร์โค้ด
รองรับการกำหนดหมายเลขผลิตภัณฑ์
Serial Number
ระบบรองรับการกำหนด Serial Number ให้กับสินค้าได้ เป็นการกำหนดรหัสให้สินค้า เพื่อเป็นการควบคุมสินค้าคงคลังด้วย Serial Number ได้ สามารถใช้ตรวจสอบแหล่งผลิตได้ สามารถป้องกันการโจรกรรมอุปกรณ์ที่มีหมายเลขสามารถลงทะเบียนได้ อีกทั้งยังง่ายต่อการติดตามหรือหากต้องมีการส่งเคลมก็สามารุตรวจสอบข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
Delivery Lead Time
คำนวนการเติมเต็มสินค้า และวัตถุดิบให้เกิดความต่อเนื่องอยู่สม่ำเสมอ สำหรับภายในสต๊อก ป้องกันปัญหาสินค้า และวัตถุดิบ ขาด ด้วย Feature Delivery Lead Time กำหนดควบคุมระยะเวลากระบวนการจัดส่งสินค้าแต่ละตัวสินค้าและวัตถุดิบ และแยกเงื่อนไขของแต่ละซัพพลายเออร์ได้อีกด้วย 
กำหนดระยะเวลาจัดส่งสินค้า

 สำหรับ Feature ต่างๆ มากมายที่เรานำมาแนะนำนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจใช้งานนอกจาก Feature แล้ว ทางเรายังให้ความสำคัญกับเอกสารในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า เรามาดูกันเลยมีเอกสารที่น่าสนใจแบบไหนบ้างสำหรับระบบบริหารจัดการคลังสินค้า จากทางเรา

เอกสารต่างๆ ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า

 

เอกสารรับเขาและจัดเก็บสินค้า

 

รับเข้าและจัดเก็บสินค้าก็จะมีตามนี้

  1.  ใบเสร็จรับเข้าสินค้า (Receipt Slip) 

    ป้องกันการรับเข้าสินค้าผิดจำนวน ผิดประเภท ด้วยเอกสารใบเสร็จรับเข้าสินค้าที่เก็บข้อมูลยืนยันเป็นหลักฐาน ชัดเจนด้วยรายละเอียดที่แสดงซัพพลายเออร์และผู้ติดต่อประสานงาน พร้อมทั้งระบบหมายเลขใบ PO วันที่รับเข้าทำรายการจริง และสินค้าพร้อมทั้งจำนวนที่รับเข้าของรายการทั้งหมดที่สามารถดูและตรวจสอบได้ง่าย

  2. ใบปะหน้ากล่องบรรจุสินค้า (เอกสารรับเข้า)

    ตรวจสอบและโยกย้ายสินค้ารับเข้าได้ง่ายเพียงดูรายละเอียดใบปะหน้ากล่องสินค้ารับเข้า ที่แสดงรายละเอียด วันที่รับเข้า เลขเอกสาร รายการ PO สถานที่เก็บสินค้า รหัสและชื่อสินค้า พร้อมทั้งระบุจำนวนชัดเจน ช่วยให้เจ้าหน้าที่จัดเก็บสินค้าได้ถูกที่ ไม่คลาดเคลื่อน 

  3. สติกเกอร์ฉลากผลิตภัณฑ์ (Sticker Products Labels)

    ป้องกันข้อมูลแสดงรายละเอียดตัวสินค้าด้วยใบปริ้นสติ๊กเกอร์สินค้า ที่แปะประจำตัวสินค้านั้นโดยเลือกประเภทได้ทั้ง ให้แสดงรายละเอียดสินค้า หรือแสดงในรูปแบบ Barcode และ รูปแบบ QR Code เพื่อรองรับการตรวจนับเช็ค ตัดสต๊อกสินค้าได้รวดเร็วด้วยการอ่านข้อมูล หรือ Scan Barcode หรือ QR Code ที่หมดปัญหากระดาษบ่งบอกสินค้าชำรุดเปียกขาด  ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ง่าย จัดเตรียมแพ๊คหรือโยกย้ายได้ตรงตัว ไม่หยิบผิดแน่นอน

 

เอกสารจัดเตรียมสำหรับการผลิต

จัดเตรียมสำหรับขั้นตอนการผลิตเพื่อแปรสภาพรอจัดจำหน่าย

  1. ใบจัดสินค้า BOM (Bill Of Material)

    จัดส่วนประกอบประกอบหรือวัตถุดิบ สำหรับการเตรียมเป็นชิ้นสินค้าตามจำนวนการขายแต่ละออร์เดอร์ได้ง่าย ด้วยใบปริ้น BOM ที่จะแสดงรายละเอียดส่วนประกอบหรือวัตถุดิบจำนวนทั้งหมดที่ระบบคำนวนให้อัตโนมัติตามที่ทำการผูก BOM ไว้ และยังมีช่องเซ็นเจ้าหน้าที่และผู้ตรวจสอบป้องกันความผิดพลาดได้เป็นอย่างดีที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้  เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานเตรียมวัตถุดิบ หรือ ส่วนประกอบได้ตามจำนวน มีรุ่น มีตัวอย่างชัดเจน

  2. ใบปะหน้าถุงสินค้า (Goods Delivery)

    ระบุหน้าถุงสินค้าได้อย่างดีโดยแสดงทั้งหมายเลขลูกค้า รายละเอียดชื่อสินค้า จำนวนรวมทั้งหมด หมายเลขของ Lot สินค้าชุดนี้ รวมไปถึงวันที่ระบุไม่ต้องเปิดดูก็ทราบได้ว่าสินค้าของเจ้าไหนมีอะไรอยู่บ้าง  ป้องกันการความผิดพลาดของการจัดส่งสินค้าผิดเจ้า ผิดประเภท ลดความเสี่ยงต้นทุนขนส่งที่ซ้ำซ้อน 

เอกสารจัดเตรียมและการส่งสินค้า

จัดเตรียมสินค้าและดำเนินการส่งสินค้าอย่างปลอดภัย

  1. Prepack

    เจ้าหน้าที่พนักงานสามารถเตรียมการจัดเตรียมสินค้าได้ง่ายด้วยใบ Prepack ที่แสดงรายละเอียดข้อมูลสินค้า รูปสินค้า และสถานที่จัดเก็บชัดเจน สามารถหาและเตรียมการแพ๊คสินค้าได้รวดเร็วลดระยะเวลาการทำงานได้เป็นอย่างดี  และยังแก้ปัญหาแพ๊คสินค้าสลับตัวได้เป็นอย่างดี 


  2.  ใบเสร็จส่งสินค้า (Delivery Slip)

    เอกสารใบเสร็จส่งออกสินค้าทีี่แสดงข้อมูล สินค้าที่ส่งออกได้อย่างชัดเจนที่แสดงสถานะ สถานที่ส่งออก และระบุจำนวนให้เห็นครบถ้วนตรวจเช็ครับสินค้าได้ง่าย ให้ผู้รับมั่นใจและตรวจสอบรายละเอียดสินค้าก่อนที่จำทำการแกะตัวสินค้า ลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าส่งผิดได้อยู่หมัด

  3. ใบจัดส่งสินค้า (Delivery Note)

    เจ้าหน้าที่พนักงานที่ทำการจัดส่งสินค้านั้นสามารถยืนยันรายการสินค้าที่จัดส่งได้อีกครั้งด้วยใบรายงาน Delivery Note ที่ระบุรายละเอียดการจัดส่งสินค้าทั้งหมด ว่างตรงตามแผนการจัดส่งที่วางไว้หรือไม่ด้วยใบ Delivery Note  เพิ่มความเชื่อมั่นโดยแจ้งรายละเอียดส่งให้ลูกค้าทราบก่อนสินค้าถึงมือ ผู้รับมีเวลาสำหรับการวางแผนรับสินค้าเข้าคลัง และยังเป็นการควบคุมภายใน ตรวจสอบสินค้าคงเหลือในกิจการหรือธุรกิจของเราเองได้อีกเช่นกัน 

  4. รายการบรรจุภัณ (Packing List)

    ตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้าแต่ละรายการบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยใบ Packing List ที่จะแสดงข้อมูล หมายเลข Order รายละเอียดเงื่อนไขของลูกค้า จุดสำคัญแต่ละสินค้าสามารถตรวจสอบดูได้ว่า จำนวนต่อชิ้นบรรจุกี่กล่อง น้ำหนักแต่ละตัวเท่าไร ที่จะมาช่วยให้เราคำนวนค่าใช้จ่ายขนส่งได้ดีอีกด้วย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบขนส่งที่เกี่ยวข้อง ก็ตรวจสอบได้ง่าย ไม่เสียเวลา ขนส่งเพิ่มขึ้น ทั้งทางเรือ การบิน ทราบได้ทันที่เมื่อเกิดความผิดพลาด เกี่ยวกับตัวสินค้า

  5. ใบปะหน้าขนส่ง

    แยกจำแนกแปะหน้ากล่องสินค้าป้องกันขนส่งทำงานพลาดได้ด้วยใบปะหน้าขนส่ง ที่แจงรายละเอียดชื่อที่อยู่ผู้ส่งและผู้รับและรายละเอียดสำคัญชัดเจนโดยสารมารถเลือกรูแบบของเอกสารได้ถึง 3 แบบ 5 cm x 10 cm หรือ A5 และ A4 ก็สามารถเลือกได้ตามประเภทของแต่ละสินค้า  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งฝั่งผู้ส่งและผู้รับเป็นอย่างมาก ป้องกันสินค้าแตกหักจากการขนส่งได้ ลดปัญหาต้นทุนขนส่งเกี่ยวกับสินค้าตีกลับได้ดียิ่ง

เอกสารการตรวจเช็คคลังสินค้า

ตรวจสอบคลังสินค้าไม่ใช่เรื่องยาก

  1. เช็คยอดคงเหลือในสต๊อก (Stock Balance)

    ปริ้นเอกสารรายงานสินค้าและสต๊อกคงเหลือวัตถุดิบ ที่เลือกระบุดูเฉพาะคลังสินค้า ประเภทหมวดหมู่หรือสินค้า ในระยะช่วงเวลาวันและเวลาที่สามารถเลือกดูรายงานได้ตามใจนึกที่จะแสดงรายละเอียด รหัสแต่ละสินค้า จำนวนคงเหลือ ราคาแต่ละชิ้น และมูลค่ารวมของสินค้าทั้งหมดได้อย่างชัดเจน

  2.  รายงานการตรวจนับสินค้า

    ปริ้นข้อมูล สินค้าทั้งหมดแต่ละคลังออกมาในรูปแบบเอกสารเพื่อรองรับการบันทึกข้อมูลสำหรับการตรวจสอบเช็คสต๊อกสินค้า ประจำเดือนหรือประจำปี ได้อย่างง่ายเพื่อรองรับการปรับสต๊อกในระบบคลังสำหรับความแม่นยำของจำนวนอยู่เสมอ ทำให้ตรวจสอบสินค้า วัตถุดิบที่มีอยู่ในคลังทั้งหมดไม่ขาดหาย รับรู้ได้ทุกรายการสินค้าที่มี
  3. ตรวจสอบรายการที่ปรับ (Stock Inventory)

    สามารถตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนสินค้าได้อีกครั้งหลังจากทำการปรับคลังสินค้าด้วยการปริ้นเอกสาร Stock Inventory ที่จะแสดงรายละเอียดข้อมูลของสินค้าที่ปรับเพิ่ม หรือ ลด จำนวน พร้อมทั้งระบุวันที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย

  4. Srock Card FIFO

    เรียกดูรายงานเฉพาะในรูปแบบของสินค้า FIFO ได้ ที่เลือกได้ดูทีละสินค้าหรือหลายๆ สินค้า ที่จะเรียงลำดับข้อมูลของสินค้าทั้ง Lot จำนวน ราคาต้นทุน แต่ละสินค้าในรูปแบบของ FIFO ให้เห็นอย่างชัดเจนและยังแสดงเลขใบเอกสารสำคัญภายในสำหรับสืบค้นข้อมูลได้ดีเยี่ยม ทำให้คิดคำนวนต้นทุนของสินค้าแต่ละรอบบิล ที่ไม่เท่ากันให้เป็นเรื่องที่ง่าย

  5.  Picking Slip

    เมื่อทำการย้ายคลังสินค้า วัตถุดิบ หรือนำไปส่งเคลมกับ ซัพพลายเออร์ ระบบจะบันทึกการจัดของออกมาเป็นใบ  Picking Slip เจ้าหน้าที่จะได้ทำการเบิกสินค้า วัตถุดิบได้ถูกตัว เคลื่อนย้ายได้ถูกตำแหน่งไม่ผิดพลาด ด้วยรายละเอียดสินค้าที่ระบุจำนวนหมายเลข Serail Number ชัดเจนนั่นเอง

 

เชื่อมต่อได้อีกหลายระบบ

รู้หรือไม่ ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า สามารถเชื่อมต่อกับระบบการใช้งานทางด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเชื่อมระบบสั่งผลิต

ระบบคลังสามารถเชื่อมโยงกับ Feture Manufacruring นั่นคือ เมนูการสั่งผลิตสินค้าได้ตามต้องการ เพราะมีระบบการผูกข้อมูลส่วนประกอบหรือวัตถุดิบของสินค้าแต่ละสินค้า และกำหนดค่าแรงงานรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการผลิต ตามการใช้งานจริง ที่เรียกว่า การผูกในรูปแบบ BOM หรือ Bill of Material ที่สามารถจัดการคำนวนค่าสินค้าสั่งผลิตได้ด้วยการคำนวณจาก BOM ของสินค้า ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้อง ให้อีกด้วย พร้อมทั้งยังมีระบบทำการอัพเดทตัดสต๊อกสินค้า วัตถุดิบ ออกจากระบบให้อัตโนมัติ หมดปัญหาผลต่างระหว่างสินค้าที่มีอยู่จริง และสินค้าที่อยู่ในระบบ ปกป้องความคลาดเคลื่อนสต๊อกสินค้าได้เป็นอย่างดี

 

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเชื่อมระบบ Order Planning

สามารถเลือกกำหนดวางแผนสำหรับการสั่งผลิตสินค้าสำหรับลูกค้าได้ตรงตามเป้าหมายด้วยระบบ Order Planing ที่กำหนดวันแพ๊คสินค้า วันผลิต ที่ชัดเจนไว้สำหรับการทำงานที่ราบลื่น 

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเชื่อมระบบ การเคลมสินค้า

แต่ละตัวสินค้ายังมีระบบกำหนดเงื่อนไข Warranty การรับประกันสินค้า ที่ตรวจเช็คข้อมูลได้ตลอดเวลาสำหรับการรองรับพัฒนาในระบบเคลมสินค้าในภายหน้าได้เช่นกัน

 

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเชื่อมระบบ POS  และงานขายผ่าน Social ทุกช่องทาง

ระบบคลังสามารถเชื่อมต่อได้กับ ระบบ POS  และงานขายผ่าน Social ทุกช่องทาง ที่สามารถรายงานความเคลื่อนไหวของสินค้า แบบ Real Time สามารถตัดสินใจขายหรือคิดโปรโมชั่น ของสินค้าได้เลยไม่ต้องมารอดูที่หลังบ้าน

 

ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเชื่อมระบบ API (Application Programming Interface)

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ และการใช้งานให้ทั่วถึงและง่ายขึ้น ด้วยระบบ API (Application Programming Interface)  ที่เชื่อมกับระบบต่างๆ ที่ลูกค้านั้นมีอยู่แล้ว

เพื่อทำหน้าที่เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ให้สามารถติดต่อสื่อสารใช้งานกันได้ เพิ่มขีดจำกัดในการทำงานที่ดีสำหรับองค์กรณ์

 


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo