องค์ประกอบของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่าย โดยออกหลักฐานที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมกรมสรรพากรบทความนี้เราสิ่งที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องมี

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย


1. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีขอความด้านบนแค่ละฉบับดังนี้

1.1 ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกันแบบแสดงรายการ”

1.2 ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน”

2. ผู้ที่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการออก “ใบแทน” หากฉบับจริงที่ออกให้ความการชำรุด หรือเกิดความเสียหาย โดยการออกใบแทนให้ใช้การถ่ายเอกสารหรือพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ ในกรณที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้มีข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านบนเอกสารและผู้จัดทำต้องลงลายมือชื่อรับรอง

3. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องมีหมายเลขลำดับของหนังสือ และหมายเลขลำดับของเล่ม เว้นแต่ ไม่ได้ทำหนังสือรับรองจ่ายเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำดับของเล่มก็ได้

4. ในการลงลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย จะใช้ตราประทับรายชื่อหรือคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (Scan) ก็ได้

5. สำหรับรายการของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะระบุเฉพาะประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย โดยไม่ระบุประเภทเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้

6. ผู้ที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และได้มีการหักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม โดยจะระบุจำนวนเงินได้ที่หักจากเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนในแต่ละปีภาษีในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้

7. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องเป็นภาษไทยหรือภาษาอังกฤษ หากเป็นภาษาอื่น จะต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ฝช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค

8. ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกำหนดเวลา ดังนี้

8.1 กรณีจ่ายเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีภาษีที่จ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในหะหว่างปีภาษี

8.2 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้ออกให้ทันที่ทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

จะเห็นได้ว่าหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีรายละเอียดมากมาย ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องทำตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ทั้งในเรื่องอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ?หรือวิธีการคำนวณการหักภาษี โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการหักจากผู้ที่รับเงิน โดยผู้ที่จ่ายเงินจะเป็นคนหัก ในตอนสิ้นปีผู้หักภาษีสามารถนำภาษีมาเครดิตเพื่อขอคืนภาษีได้



อ้างอิง
- ตำราการวางแผนภาษี
-  "อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้ประกอบการควรรู้". [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/31-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/7453-withholding-tax-knowledge.html
-  "หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร". [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://flowaccount.com/blog/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87


อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/tax_pdf/withhold/approve_wh.pdf