การปรับปรุงรายการทางการบัญชี หรือ Adjusting Entry
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

การปรับปรุงรายการทางการบัญชี (Adjusting Entry)

     ในการปรับปรุงบัญชีจะมีทั้งการปรับปรุงรายการที่บันทึกไว้ รายการที่อาจเกิดจากการบันทึกไว้ผิดพลาด และการปรับปรุงจะรวมทั้งการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะ เวลาที่จัดทำงบการเงินที่ยังไม่ได้บันทึกรายการค้าไว้ ทำให้ต้องบันทึกรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง

     รายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดจะมีรายการดังต่อไปนี้

      1. รายได้ค้างรับ
      2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
      3. รายได้รับล่วงหน้า
      4. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
      5. ค่าเสื่อมราคา
      6. ค่าตัดจำหน่าย
      7. ค่าสูญสิ้น
      8. วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
      9. หนี้สงสัยจะสูญ
      10. การแก้ไขข้อผิดพลาด

1. รายได้ค้างรับ
........รายได้ ค้างรับเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์คง ค้าง

2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
........ ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินสดจนกว่าจะถึงงวดบัญชีต่อไป ในงวดบัญชีที่จัดทำงบการเงินเมื่อมีรายการเกิดขึ้นกิจการจะบันทึกตามเกณฑ์คง ค้าง

3. รายได้รับล่วงหน้า
........รายได้ รับล่วงหน้าเป็นรายได้ที่กิจการได้รับเงินล่วงหน้า โดยยังให้บริการแก่ลูกค้าไม่หมด ดังนั้นรายได้ที่รับมาจึงเป็นรายได้ในงวดนี้ส่วนหนึ่ง และที่เหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้ในงวดบัญชีถัดไป

4. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
........ เป็นค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว โดยได้รับบริการเพียงบางส่วน ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป

5. ค่าเสื่อมราคา
........ ค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มี การเสื่อมสภาพ ได้แก่สินทรัพย์ประเภทอาคาร อุปกรณ์ แต่จะยกเว้นที่ดิน (ถือว่าไม่มีการเสื่อมสภาพ) เนื่องจากสินทรัพย์ประเภทนี้ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนานกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้อง กิจการต้องปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตนที่มีการเสื่อมสภาพ เป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน และการบันทึกค่าเสื่อมราคาจะบันทึกคู่กับรายการค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งเป็นบัญชีที่สะสมยอดค่าเสื่อมราคาตั้งแต่เริ่มใช้งานจนถึงปัจจุบันในวัน ที่จัดทำงบการเงิน จึงจัดว่าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีตรงกันข้ามกับบัญชีสินทรัพย์

6. ค่าตัดจำหน่าย
........ ค่าตัดจำหน่ายจะเป็นการปันส่วนราคาทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่มี ตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร เป็นต้น โดยต้องประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ โดยอาศัยอายุของกฎหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือประมาณอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไม่เกิน 20 ปี

7. ค่าสูญสิ้น
........ เป็นการบันทึกบัญชีในวันปรับปรุงวันสิ้นงวดเพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบ กำไรขาดทุน และนำค่าสูญสิ้นสะสมมาบันทึกลดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนประเภท ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ ถ่านหิน บ่อน้ำมัน เป็นต้น โดยทรัพยากรธรรมชาตินั้นไม่มีการเสื่อมสภาพเหมือนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ทรัพยากรธรรมชาติจะลดปริมาณลงในแต่ละปีเมื่อนำมาผลิต การบันทึกค่าสูญสิ้น จะคำนวณโดยวิธีตามจำนวนผลผลิต กล่าวคือ ในปีไหนมีการผลิตมากก็จะต้องบันทึกค่าสูญสิ้นมาก

8. วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
........ วัสดุสิ้นเปลืองเป็นวัสดุที่มีมูลค่าไม่มากนักใช้แล้วหมดสิ้นเลย ดังนั้นในการที่กิจการจะบันทึกรายการการเบิกไปใช้แล้วจะทำให้การบันทึก รายการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งมูลค่าจะน้อยมาก ดังนั้นการบันทึกค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่เบิกไปใช้จะทำการบันทึกปรับปรุง รายการวันสิ้นงวด โดยจะทำการตรวจนับว่าในวันสิ้นงวดวัสดุสิ้นเปลืองมีมูลค่าเหลือเท่าใด แล้วคำนวณว่าในระหว่างงวดได้ใช้วัสดุสิ้นเปลืองไปเป็นจำนวนเท่าใด โดยเทียบกับวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมาตอนต้นงวด

9. หนี้สงสัยจะสูญ
........ เป็นการประมาณหนี้ที่กิจการคาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ตามความหมายของศัพท์บัญชี ลูกหนี้ หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินสด สินค้า หรือบริการ โดยบุคคลอื่นจะต้องนำเงินสดมาชำระหนี้คืนจากกิจการ ซึ่งลูกหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น โดยลูกหนี้การค้าเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการของกิจการที่ เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานตามปกติ แต่ลูกหนี้อื่นเป็นลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้าง
........ ตามมาตรฐานการบัญชี กำหนดให้กิจการมียอดลูกหนี้ ณ วันที่ในงบดุล (วันปิดงวด) แล้วให้กิจการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ ในงบดุลมีมูลค่าสูงเกินไปซึ่งให้ประมาณเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อนำไป ลดยอดลูกหนี้

10. การแก้ไขข้อผิดพลาด
........ ในบางกรณีกิจการมีการบันทึกบัญชีผิดพลาดซึ่งตรวจพบก่อนที่จะนำเสนองบการเงิน นั้น กิจการต้องทำการแก้ไขโดยอาจทำการแก้ไขในวันที่พบข้อผิดพลาดหรือแก้ไขในวัน สิ้นงวดก็ได้ ซึ่งจะถือว่าเป็นการปรับปรุงรายการประเภทหนึ่ง

     ในข้อผิดพลาดที่พบนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก

             - บันทึกตัวเลขผิด

             - บันทึกชื่อบัญชีผิด

             - ลืมบันทึกบัญชี

      การ แก้ไขให้ถูกต้องโดยถ้าจะล้างบัญชีออกไปเลยก็ต้องแก้ไขด้วยการบันทึกอีกด้าน ตรงกันข้าม หรือหากถ้าบันทึกชื่อบัญชีถูกแล้วแต่จำนวนผิดก็ลงเพิ่มหรือลดจำนวน โดยการแก้ไขก็ยังคงต้องยึดหลักบัญชีคู่

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ ที่ งบการเงิน ( Financial Statement )  , เงินสดย่อย (Petty Cash) , การปรับปรุงรายการทางการบัญชี (Adjusting Entry)


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo