รายการลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน

     วันนี้เรามาดูเกี่ยวกับ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตรวจสอบดูว่า  “ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับมนุษย์เงินเดือน” นั้นมีอะไรบ้าง จะได้ลดหย่อนถูกวิธีและครบถ้วน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่เราควรได้ โดยค่าลดหย่อนแต่ละประเภทนั้น หลังจากที่เรานำมรายได้มาหักค่าใช้จ่ายในอัตรา 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาทแล้ว สามารถหักค่าลดหย่อนดังต่อไปนี้ครับ

    1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นแบบแสดงรายการ สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนนี้ได้เต็มที่ 30,000 บาทอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ

    2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนของคู่สมรส กรณีที่คู่สมรส (สามี-ภรรยา) ของเราที่ไม่มีเงินได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน เราจะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนเพิ่มอีกจำนวน 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้ครับ
        - คู่สมรสที่ว่า…ต้องมีการจดทะเบียนสมรส

        - คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ในระหว่างปี หรือมีแต่เลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีกับเรา

    3. ค่าลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และ ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร 2,000 บาท

        - คำว่า “บุตร” หมายถึง บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ คนละ 15,000 บาท
        - หักบุตรตามอายุได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะทีมีชีวิต) โดยเราต้องเป็นคนเลี้ยงดูบุตร
        - บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี แต่ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
        - การนับจำนวนบุตรที่นำมาลดหย่อน ต้องนับตามจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ทุกคน
        - สำหรับบุตรที่กำลังศึกษาภายในประเทศ จะได้รับค่าลดหย่อนเพิ่มเติมอีกคนละ 2,000 บาท โดยคำว่าการศึกษาหมายถึงตั้งแต่ ชั้นอนุบาลไปจนถึงปริญญาเอก (ไม่รวมชั้นเตรียมอนุบาล)
        - บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป

     4. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จำนวน 100,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย โดยสามารถหักได้ตามที่จ่ายไปจริง ในจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทครับ

     5. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุด 120,000 บาท ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท ซึ่งส่วนนี้จะหมายความรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของคู่สมรส (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) แต่มีเงื่อนไขนิดหน่อยครับว่าตัวคุณพ่อคุณแม่ที่นำไปลดหย่อนนั้น จะต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู และลูกจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้นครับ

     6. เบี้ยประกันชีวิต มี 2 ประเภท คือ

        ประกันชีวิต (แบบทั่วไป) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
        ประกันชีวิต (แบบบำนาญ) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

     โดยประกันชีวิตแบบทั่วไปนั้นในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาทครับ สำหรับใครที่สงสัยว่าประกันชีวิตของตัวเองเป็นแบบไหน ให้สอบถามจากตัวแทนประกันได้เลยครับ และอย่าลืมสังเกตใบเสร็จรับเงินค่าประกันด้วยว่า ได้ระบุว่าสามารถนำไปลดหย่อนได้จำนวนเท่าไหร่ครับ

      7. ค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาท หากเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เราสามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีครับ

      8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันนี้สามารถหารกันสำหรับลูกหลายๆคนได้ด้วยครับ

      9. เงินสมทบ กบข. และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 500,000 บาท เงินสมทบ  กบข. (สำหรับข้าราชการ) และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน) สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

     10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท  กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ไว้สำหรับวางแผนเกษียณ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นผลตอบแทน

     11. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นผลตอบแทน

     12. ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท เงินประกันสังคม หรือชื่อเต็มๆคือ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยกองทุนประกันสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่บุคคลที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน และมีความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 7 ประเภทย่อยๆ เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ฯลฯ โดยเพดานสูงสุดของเงินได้ที่จะนำมาคำนวณก็คือ 15,000 บาท นั่นหมายความว่า เราจะสามารถนำเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 9,000 บาทต่อปี

     13. ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยต้องเป็นค่าโรงแรมและค่าที่พักสำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 2557 คร้าบบบ (สำหรับการยื่นแบบปี 2558)

     14. เงินบริจาค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

           - เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สามารถหักลดหย่อนได้เป็น 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
           - เงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังหักลดหย่อนและยกเว้นกรณีอื่นๆทั้งหมดแล้ว

          และทั้งหมดนี้คือ 14 ประเภทของค่าลดหย่อน ที่ มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรนำมาตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนจะยื่นแบบแสดงรายการ ภาษี มิฉะนั้นจะเสียผลประโยชน์ไปฟรีๆ โดยที่ไม่รู้ตัวนะครับ

สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่

โปรแกรมประกอบการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ สำหรับมือใหม่

ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0

 


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo