การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice: GAP)
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice: GAP)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice: GAP)
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice: GAP)

     (กุ๊ด แอ๊กกริเคิ่ลเชอ แพรคทิซ : จีเอพี)  หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ

     สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช GAP โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย

     ผลไม้ ทุเรียน ลำไย สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน

     พืช ผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และ หอมแดง

    ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา

    พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา


    คราวหน้าเราจะมา ดูกันว่า เมื่อเกษตรปฏิบัติ การปลูกพืชระบบ GAP แล้ว เกษตรกรจะได้ผลประโยชน์อย่างไรจากการปลูกพืชระบบ GAP

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจการเกษตรการนำระบบ ERP อีอาร์พี Odoo โอดู มาใช้กับธุรกิจทางด้านเกษตรการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจเกษตร

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo