เงินประกันสังคมที่ถูกหัก 750 ต่อเดือน ไปอยู่ไหน ?
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

เงินประกันสังคมที่ถูกหัก 750 ต่อเดือน ไปอยู่ไหน ?

     มนุษย์เงินเดือนคงไม่มีใครไม่รู้จัก "ประกันสังคม" เป็นแน่ ก็เพราะทุก ๆ เดือน นายจ้างจะหักเงินจากเรา 5% ของเงินเดือนนำส่งให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งก็ทำให้หลายคนแอบบ่นอยู่เหมือนกันว่า ทำไมเราต้องส่งเงินที่ได้จากหยาดเหงื่อแรงงานของเราทุกเดือน ๆ ให้กับกองทุนประกันสังคมด้วยล่ะ แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากเงินส่วนนี้ ใครที่กำลังคาใจเรื่องนี้อยู่ เราจะมาให้คำตอบว่า

     เงินสมทบกองทุนประกันสังคมของเราไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง ?

     เงินสมทบกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นข้อบังคับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ซึ่งในปี 2558 นี้ กำหนดให้ลูกจ้างต้องส่งเงินให้กองทุน 5% ของเงินเดือน ส่วนนายจ้างก็ต้องสมทบให้อีก 5% โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างจริงต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปในแต่ละเดือนนั้น จะถูกแบ่งสำหรับคุ้มครอง 3 กรณี คือ

     1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
        ถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนเดือนละ 750 บาท เงินจะถูกแบ่งมาเข้าในส่วนนี้ 225 บาท ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษา พยาบาลได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กรณีผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และขอใบรับรองแพทย์รวมไปถึงใบเสร็จรับเงินแสดงค่าใช้จ่ายโดยละเอียดและสามารถเบิกคืนได้กับสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ตามอัตราที่ประกาศได้ทุกแห่งทั่วประเทศ

     2. กรณีว่างงาน
         ถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนเดือนละ 750 บาท เงินจะถูกแบ่งมาเข้าในส่วนนี้ 75 บาท โดยได้รับความคุ้มครอง 2 กรณี คือ
         - ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ( 6เดือน )ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น มีเงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
         - ลาออก จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น มีเงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 6,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน

     3. กรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ
        ถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนเดือนละ 750 บาท เงินจะถูกแบ่งมาเข้าในกรณีชราภาพ 450 บาท ซึ่งเป็นเงินออมที่จะได้รับเงินคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี อย่างไรก็ตาม การจะได้รับเงินคืนนั้น จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
        1. หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน( 1 ปี ) ผู้ประกันตนจะได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่จ่ายมาเพื่อประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
        2. หากจ่ายเงินสมทบเกิน 12 เดือน แต่ยังไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) ผู้ประกันตนจะได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่จ่ายมาเพื่อประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ รวมกับส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบมาให้ด้วย
        3. หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน (15 ปี) ผู้ประกันตนจะได้รับ "เงินบำนาญชราภาพ" ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยรับเป็นรายเดือน
        4. หากจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปี) ผู้ประกันตนจะได้รับ "เงินบำนาญชราภาพ" ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และยังจะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ในส่วนปีที่เกินมาจาก 15 ปี

     นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี. ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : บริษัทควรจะเลือกใช้ โปรแกรมบัญชี หรือ ERP อีอาร์พี ดี ?การบันทึกบัญชีสำหรับธุรกิจการผลิต การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรความหมายระบบบัญชีคู่ Double entry bookkeeping ดับเบิล เอนทริ บุ๊คคีพอิงวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo