กระทบกระเป๋าตัง เมื่อรัฐผลักดัน การใช้เครื่องรูดบัตร EDC (อีดีซี)
ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 
กระทบกระเป๋าตัง เมื่อรัฐผลักดัน การใช้เครื่องรูดบัตร EDC (อีดีซี)
กระทบกระเป๋าตัง เมื่อรัฐผลักดัน การใช้เครื่อง EDC (อีดีซี)

ทำไมรัฐจึงผลักดัน การใช้เครื่อง EDC (อีดีซี)

     ปัจจุบันการใช้จ่ายแต่ละครั้งก็ดูจะง่ายดาย สะดวกและรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการใช้จ่าย อย่างบัตร ATM (เอทีเอ็ม) ต่างๆก็เป็นบัตร Debit (เดบิต) ที่สามารถรูดได้ ไม่จำเป็นต้องกดเงินสดในการจ่ายชำระค่าสินค้า ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการใช้บัตรเดบิตเพื่อถอนเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็มมาเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันมากกว่าการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าโดยตรง รวมทั้งร้านค้าที่รับบัตรยังมีไม่แพร่หลายมากนัก แต่รัฐบาลก็มีการขยายการใช้บัตรมากยิ่งขึ้น เรียกว่าจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดอีกในไม่ช้า ซึ่งจะส่งผลทำให้ร้านค้าต่างๆทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มีเครื่องรูดบัตร หรือ EDC (อีดีซี) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้าถึงการใช้ได้งานและครอบคลุมทั่วประเทศ สนับสนุนให้ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ เข้าถึงบริการทางการเงิน/การชำระเงินได้อย่างแพร่หลาย

     ล่าสุดกระทรวงการคลังก็ได้ทำการจัดบันทึกลงนามข้อตกลงร่วมกับกลุ่มธนาคาร จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Consortium ประกอบด้วย 5 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) กลุ่มที่ 2 กลุ่มกิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นท์ ประกอบด้วย 2 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เดินหน้า National e-Payment (เนชั่นแนล อรเพลย์เม้นท์) เพื่อหวังให้ไทยก้าวเข้าไปใกล้สังคมไร้เงินสดมากยิ่งขึ้น โดยทั้ง 2 กลุ่ม จะร่วมกันติดตั้งเครื่อง EDC (อีดีซี) จำนวนรวมประมาณ 560,000 เครื่อง มีกำหนดการเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2561 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนแบบนี้แล้วหลายๆท่านที่ยังมองไม่เห็นถึงประโยชน์ของการใช้บัตรเหล่านี้เราเลยนำความรู้ทางด้านประโยชน์ของ บัตรเครดิต และบัตรเดบิต มาแบ่งปัน ไปดูกันค่ะว่าประโยชน์ของ บัตรเครดิต และบัตรเดบิต มีอะไรกันบ้าง

     ประโยชน์ของการจ่ายด้วยบัตรเครดิต และบัตรเดบิต คือ สามารถเป็นหลักฐานในการจับจ่ายซื้อของได้ ว่าเราจ่ายอะไรไปบ้าง ซึ่งการจ่ายด้วยบัตรนี้ จะมีข้อมูลของคุณอยู่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม บัตรเครดิตจะมีความคุ้มครองมากกว่าบัตรเดบิต เพราะมี พ.ร.บ.บัตรเครดิต หรือ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตให้การคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ยกตัวอย่างเช่น…

     - ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตมีหน้าที่แจ้ง เปิดเผย หรือให้ข้อมูลแก่ผู้ถือบัตร รวมทั้งการเตือนเกี่ยวกับการทุจริตต่างๆ ในการใช้ข้อมูลหรือใช้บัตรเครดิต และแจ้งให้ผู้ถือบัตรระวังการโจรกรรมข้อมูลเครดิต หรือการทำธุรกรรมที่ไม่ปกติ

     - ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเรียกเก็บเงินจากผู้ถือบัตรก่อนถึงวันครบกำหนด และให้ ธปท. กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจและผู้รับบัตร จัดให้มีศูนย์บริการลูกค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือบัตร

     ในขณะที่บัตรเดบิตก็มีการรักษาข้อมูลผู้บริโภคคล้ายๆ กับบัตรเครดิตค่ะ คือมี พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์คุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ยกตัวอย่างเช่น…

     - มาตรา 13 คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทําคําเสนอหรือคําสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

     - มาตรา 14 ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคําบอกกล่าวอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

     จากนโยบายเรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อหลายฝ่ายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ, ผู้ประกอบธุรกิจ, หรือแม้แต่ประชาชนคนไทยเองก็ตาม ในอีกไม่ช้าประเทศไทยก็จะกลายเป็น สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) มากยิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐ ตามกระแสในหลายๆประเทศ ออกนอกบ้าน เที่ยว กิน ช๊อป ก็ไม่ต้องพกเงินสดให้เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมกันอีกแล้ว อีกทั้งยังทำให้ลดการใช้เงินสด ลดต้นทุนทั้งการผลิตและขนส่งเงินได้มหาศาลต่อปีอีกด้วย

แหล่งที่มา : www.mof.go.th

บทความโดย : https://www.mdsoft.co.th/ (บริษัทเอ็ม.ดี ซอฟต์ จำกัด)

บทความที่เกี่ยวข้องการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โปรแกรมประกอบการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ PHP บริการพัฒนา Joomla Extension พัฒนาและปรับแต่งเว็บบอร์ด